วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557

ไวรัส

ไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร

          คอมพิวเตอร์ไวรัสเป็นชื่อเรียกสำหรับโปรแกรมประเภทหนึ่งที่มีพฤติกรรมคล้ายๆ กับไวรัสที่เป็นเชื้อโรค ที่สามารถแพร่เชื้อได้และมักทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ แต่ต่างกันตรงที่ว่าคอมพิวเตอร์ไวรัสเป็นแค่เพียงโปรแกรมเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต

ไวรัสคืออะไร

          ไวรัส คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูล ไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
          
         การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรมๆ หนึ่ง การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้น ยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัสแต่ละตัว ปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ัตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว
        
          จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอ เป็นต้น 

ประเภทของไวรัส

         บูตเซกเตอร์ไวรัส

          Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือ ไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็กๆไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัสประเภทนี้ ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไปจะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุกๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียกดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไปเรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

         โปรแกรมไวรัส

          Program Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programs ได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ีที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะเข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่ 2 วิธี คือ การแทรกตัวเข้าไปอยู่ในโปรแกรม ผลก็คือ หลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม การทำงานของไวรัสโดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัสอยู่ ตัวไวรัสจะเ้ข้าไปหาโปรแกรมตัวอื่นๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้น ทำงานตามปกติต่อไป

          ม้าโทรจัน

          ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาใ้ห้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่วๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์

          ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดดๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดตั้งในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการของผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้

          โพลีมอร์ฟิกไวรัส

          Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเองได้ เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้นซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ๆในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

          สทีลต์ไวรัส

          Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิมทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

อาการของเครื่องที่ติดไวรัส

          สามารถสังเกตุการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้อาจเป็นไปได้ว่าได้มีไวรัสเข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้ว อาการที่ว่านั้น ได้แก่ 
  1.  ใช้เวลานานผิดปกติในการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน
  2.  ขนาดของโปรแกรมใหญ่ขึ้น
  3.  วันเวลาของโปรแกรมเปลี่ยนไป 
  4.  ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อยๆ
  5.  เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ
  6.  เครื่องส่งเสียงออกทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากโปรแกรมที่ใช้อยู่
  7.  แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
  8.  ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยกว่าปกติ โดยหาเหตุผลไม่ได้
  9.  ไฟล์แสดงสถานะการทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น
  10.  ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ๆ ก็หายไป
  11.  เครื่องทำงานช้าลง
  12.  เครื่องบูตตัวเองโดยไม่ได้สั่ง
  13.  ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
  14.  เซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยมีการรายงานว่าจำนวนเซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าแต่  ก่อนโดยที่
  15.  ยังไม่ได้ใช้โปรแกรมใดเข้าไปตรวจหาเลย      

การตรวจหาไวรัส

          การสแกน

           โปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้ิวิธีการสแกน (Scanning) เรียกว่า สแกนเนอร์ (Scanner) โดยจะมีการดึงเอาโปรแกรมบางส่วนของตัวไวรัสมาเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล ส่วนที่ดึงมานั้นเราเรียกว่า ไวรัสซิกเนเจอร์ (VirusSignature) และเมื่อสแกนเนอร์ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าตรวจหาไวรัสในหน่วยความทรงจำ บูตเซกเตอร์และไฟล์โดยใช้ไวรัสซิกเนเจอร์ที่มีอยู่
          
           ข้อดีของวิธีการนี้ก็คือ เราสามารถตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่มาใหม่ได้ทันทีเลยว่าติดไวรัสหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานตั้งแต่เริ่มแรกแต่วิธีนี้มีจุดอ่อนหลายข้อ คือ

  1. ฐานข้อมูลที่เก็บไวรัสซิกเนเจอร์จะต้องทันสมัยอยู่เสมอ และครอบคลุมไวรัสทุกตัวมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  2. เพราะสแกนเนอร์จะไม่สามารถตรวจจับไวรัสที่ยังไม่มีซิกเนเจอร์ของไวรัสนั้นเก็บอยู่ในฐานข้อมูลได้
  3. ยากที่จะตรวจจับไวรัสประเภทโพลีมอร์ฟิก เนื่องจากไวรัสประเภทนี้เปลี่ยนแปลงตัวเองได้
  4. จึงทำให้ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้สามารถนำมาตรวจสอบได้ก่อนที่ไวรัสจะ้เปลี่ยนตัวเองเท่านั้น
  5. ถ้ามีไวรัสประเภทสทีลต์ไวรัส ติดอยู่ในเครื่องตัวสแกนเนอร์อาจจะไม่สามารถตรวจหาไวรัสนี้ได้
  6. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและเทคนิคที่ใช้ของตัวไวรัสและของตัวสแกนเนอร์เองว่าใครเก่งกว่า
  7. เนื่องจากไวรัสมีตัวใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอๆ ผู้ใช้จึงจำเป็นต้องหาสแกนเนอร์ตัวที่ใหม่ที่สุดมาใช้ 
  8. มีไวรัสบางตัวจะเข้าไปติดในโปรแกรมทันทีที่โปรแกรมนั้นถูกอ่าน และถ้าสมมติ  
  9. ว่าสแกนเนอร์ที่ใช้ไม่สามารถตรวจจับได้ และถ้าเครื่องมีไวรัสนี้ติดอยู่ เมื่อมีการ 
  10. เรียกสแกนเนอร์ขึ้นมาทำงาน สแกนเนอร์จะเข้าไปอ่านโปรแกรมทีละโปรแกรมเพื่อตรวจสอบ
  11. ผลก็คือจะทำให้ไวรัสตัวนี้เข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมทุกตัวที่ถูกสแกนเนอร์นั้นอ่านได้ 
  12. สแกนเนอร์รายงานผิดพลาดได้ คือ ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้บังเอิญไปตรงกับที่มี 
  13. อยู่ในโปรแกรมธรรมดาที่ไม่ได้ติดไวรัส ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้มีขนาดสั้นไป 
  14. จะทำให้โปรแกรมดังกล่าวใช้งานไม่ได้อีกต่อไป 

          การตรวจการเปลี่ยนแปลง

           การตรวจการเปลี่ยนแปลง คือ การหาค่าพิเศษอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เช็คซัม (Checksum) ซึ่งเกิดจากการนำเอาชุดคำสั่งและข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรมมาคำนวณ หรืออาจใช้ข้อมูลอื่นๆ ของไฟล์ ได้แก่ แอตริบิวต์ วันและเวลา เข้ามารวมในการคำนวณด้วย เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรม จะถูกแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง เราจึงสามารถนำเอาตัวเลขเหล่านี้มาผ่านขั้นตอนการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ ซึ่งวิธีการคำนวณเพื่อหาค่าเช็คซัมนี้มีหลายแบบ และมีระดับการตรวจสอบแตกต่างกันออกไป เมื่อตัวโปรแกรมภายในเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าไวรัสนั้นจะใช้วิธีการแทรกหรือเขียนทับก็ตาม เลขที่ได้จากการคำนวณครั้งใหมจะเปลี่ยนไปจากที่คำนวณได้ก่อนหน้านี้

          ข้อดีของการตรวจการเปลี่ยนแปลงก็คือ สามารถตรวจจับไวรัสใหม่ๆ ได้ และยังมีความสามารถในการตรวจจับไวรัสประเภทโพลีมอร์ฟิกไวรัสได้อีกด้วย แต่ก็ยังยากสำหรับสทีลต์ไวรัส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดของโปรแกรมตรวจหาไวรัสเองด้วยว่า จะสามารถถูกหลอกโดยไวรัสประเภทนี้ได้หรือไม่ และมีวิธีการตรวจการเปลี่ยนแปลงนี้จะตรวจจับไวรัสได้ก็ต่อเมื่อไวรัสได้เข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้วเท่านั้น และค่อนข้างเสี่ยงในกรณีที่เริ่มมีการคำนวณหาค่าเช็คซัมเป็นครั้งแรก เครื่องที่ใช้ต้องแน่ใจว่าบริสุทธิ์พอ คือต้องไม่มีโปรแกรมใดๆ ติดไวรัส มิฉะนั้นค่าที่หาได้จากการคำนวณที่รวมตัวไวรัสเข้าไปด้วย ซึ่งจะลำบากภายหลังในการที่จะตรวจหาไวรัสตัวนี้ต่อไป

         การเฝ้าดู 

         เพื่อที่จะให้โปรแกรมตรวจจับไวรัสสามารถเฝ้าดูการทำงานของเครื่องได้ตลอดเวลานั้น จึงได้มีโปรแกรมตรวจจับไวรัสที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นโปรแกรมแบบเรซิเดนท์หรือ ดีไวซ์ไดรเวอร์ โดยเทคนิคของการเฝ้าดูนั้นอาจใช้วิธีการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลง หรือสองแบบรวมกันก็ได้ การทำงานโดยทั่วไป ก็คือ เมื่อซอฟแวร์ตรวจจับไวรัสที่ใช้วิธีนี้ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าไปตรวจในหน่วยความจำของเครื่องก่อนว่ามีไวรัสติดอยู่หรือไม่โดยใช้ไวรัสซิกเนเจอร์ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล จากนั้นจึงค่อยนำตัวเองเข้าไปฝังอยู่ในหน่วยความจำ และต่อไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมใดขึ้นมาใช้งาน โปรแกรมเฝ้าดูนี้ก็จะเข้าไปตรวจโปรแกรมนั้นก่อนโดยใช้เทคนิคการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงเพื่อหาไวรัส ถ้าไม่มีปัญหาก็จะอนุญาตให้โปรแกรมนั้นขึ้นมาทำงานได้ นอกจากนี้โปรแกรมตรวจจับไวรัสบางตัวยังสามารถตรวจสอบขณะที่มีการคัดลอกไฟล์ได้อีกด้วย
          
         ข้อดีของวิธีนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมใดขึ้นมา โปรแกรมนั้นจะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้งโดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้าเป็นการใช้สแกนเนอร์จะสามารถทราบได้ว่าโปรแกรมใดติดไวรัสอยู่ ก็ต่อเมื่อทำการเรียกสแกนเนอร์นั้นขึ้นมาทำงานก่อนเท่านั้น
          
         ข้อเสียของโปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูก็คือ จะมีเวลาที่เสียไปสำหรับการตรวจหาไวรัสก่อนทุกครั้ง และเนื่องจากเป็นโปรแกรมแบบเรซิเดนท์หรือดีไวซ์ไดรเวอร์ จึงจำเป็นจะต้องใช้หน่วยความจำส่วนหนึ่งของเครื่องตลอดเวลาเพื่อทำงาน ทำให้หน่วยความจำในเครื่องเหลือน้อยลง และเช่นเดียวกับสแกนเนอร์ ก็คือ จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงฐานข้อมูลของไวรัสซิกเนเจอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

คำแนะนำและการป้องกันไวรัส 

  1. สำรองไฟล์ข้อมูลที่สำคัญ
  2. สำหรับเครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์ อย่าเรียกดอสจากฟลอปปีดิสก์
  3. ป้องกันการเขียนให้กับฟลอปปีดิสก์
  4. อย่าเรียกโปรแกรมที่ติดมากับดิสก์อื่น
  5. เสาะหาโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใหม่และมากกว่าหนึ่งโปรแกรมจากคนละบริษัท
  6. เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วงๆ
  7. เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูทุกครั้ง
  8. เลือกคัดลอกซอฟแวร์เฉพาะที่ถูกตรวจสอบแล้วในบีบีเอส
  9. สำรองข้อมูลที่สำคัญของฮาร์ดิสก์ไปเก็บในฟลอปปีดิสก์
  10. เตรียมฟลอปปีดิสก์ที่ไว้สำหรับให้เรียกดอสก์ขึ้นมาทำงานได้
  11. เมื่อเครื่องติดไวรัส ให้พยายามหาที่มาของไวรัสนั้น

การกำจัดไวรัส 


         เมื่อแน่ใจว่าเครื่องติดไวรัสแล้ว ให้ทำการแก้ไขด้วยความใคร่ครวญและระมัดระวังอย่างมาก เพราะบางครั้งตัวคนแก้เองจะเป็นตัวทำลายมากกว่าตัวไวรัสจริงๆ เสียอีก การฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่อีกครั้งก็ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป ยิ่งแย่ไปกว่านั้นถ้าทำไปโดยยังไม่ได้มีการสำรองข้อมูลขึ้นมาก่อน การแก้ไขนั้นถ้าผู้ใช้มีความรู้เกี่ยวกับไวรัสที่กำลังติดอยู่ว่าเป็นประเภทใดก็จะช่วยได้อย่างมาก และข้อเสนอแนะต่อไปนี้อาจจะมีประโยชน์ต่อท่าน 

         บูตเครื่องใหม่ทันทีที่ทราบว่าเครื่องติดไวรัส

         เมื่อทราบว่าเครื่องติดไวรัสให้ทำการบูตเครื่องใหม่ทันที โดยเรียกดอสขึ้นมาทำงานจากฟลอปปีดิสก์ที่ได้เตรียมไว้ เพราะถ้าไปเรียกดอสจากฮาร์ดดิสก์ เป็นไปได้ว่าตัวไวรัสอาจกลับเข้าไปในหน่วยความจำได้อีก เมื่อเสร็จขั้นตอนการเรียกดอสแล้ว ห้ามเรียกโปรแกรมใดๆ ก็ตามในดิสก์ที่ติดไวรัส เพราะไม่ทราบว่าโปรแกรมใดบ้างที่มีไวรัสติดอยู่

         เรียกโปรแกรมไวรัสขึ้นมาตรวจหาและทำลาย

         ให้เรียกโปรแกรมตรวจจับไวรัส เพื่อตรวจสอบดูว่ามีโปรแกรมใดบ้างติดไวรัส ถ้าโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้อยู่สามารถกำจัดไวรัสตัวที่พบได้ก็ให้ลองทำดู แต่ก่อนหน้านี้ให้ทำการคัดลอกเพื่อสำรองโปรแกรมาที่ติดไวรัสไปเสียก่อน โดยโปรแกรมจัดการไวรัสบางโปรแกรมสามารถสั่งให้ทำสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเป็นอีกชื่อหนึ่งก่อนที่จะกำจัดไวรัส เช่น MSAV ของดอสเอง เป็นต้น
          การทำสำรองก็เพราะว่า เมื่อไวรัสถูกกำจัดออกจากโปรแกรมไป โปรแกรมนั้นอาจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติหรือทำงานไม่ได้เลยก็เป็นไปได้ วิธีการตรวจขั้นต้น คือ ให้ลองเปรียบเทียบขนาดของโปรแกรมหลังจากที่ถูกกำจัดไวรัสไปแล้วกับขนาดเดิม ถ้ามีขนาดน้อยกว่าแสดงว่าไม่สำเร็จ หากเป็นเช่นนั้นให้เอาโปรแกรมที่ติดไวรัสที่สำรองไว้ แล้วหาโปรแกรมจัดการไวรัสตัวอื่นมาใช้แทน แต่ถ้ามีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับของเดิม เป็นไปได้ว่าการกำจัดไวรัสอาจสำเร็จ โดยอาจลองเรียกโปรแกรมตรวจหาไวรัสเพื่อทดสอบโปรแกรมอีกครั้ง
          หากผลการตรวจสอบออกมาว่าปลอดเชื้อ ก็ให้ลองเรียกโปรแกรมที่ถูกกำจัดไวรัสไปนั้นขึ้นมาทดสอบการทำงานดูอย่างละเอียดว่าเป็นปกติดีอยู่หรือไม่อีกครั้ง ในช่วงดังกล่าวควรเก็บโปรแกรมนี้ที่สำรองไปขณะที่ติดไวรัสอยู่ไว้ เผื่อว่าภายหลังพบว่าโปรแกรมทำงานไม่เป็นไปตามปกติ ก็สามารถลองเรียกโปรแกรมจัดการไวรัสตัวอื่นขึ้นมากำจัดต่อไปในภายหลัง แต่ถ้าแน่ใจว่าโปรแกรมทำงานเป็นปกติดี ก็ทำการลบโปรแกรมสำรองที่ยังติดไวรัสอยู่ทิ้งไปทันที เป็นการป้องกันไม่ให้มีการเรียกขึ้นมาใช้งานภายหลังเพราะความบังเอิญได้







ที่มา : www.softwarepark.co.th / itcenter

การแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์


                   การแก้ไขปัญหาทั่วไปเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์





กำลังไฟ

ปัญหา : เปิดคอมพิวเตอร์ไม่ได้
สาเหตุ : ไม่ได้ต่อคอมพิวเตอร์ลงเต้าเสียบที่ด้านหลัง
การแก้ปัญหา : ตรวจดูให้แน่ใจว่าสายไฟนั้นเสียบอยู่ที่เต้าเสียบไปบนฝาผนัง และไฟ AC บนฝาผนังที่ลงสายกราวนด์ของคอมพิวเตอร์อย่างแน่นหนา
ปัญหา : เปิดคอมพิวเตอร์ไม่ได้
สาเหตุุ : คอมพิวเตอร์อาจอยูในโหมด Sleep
การแก้ปัญหา :ตรวจสอบว่าปุ่ม เปิดเครื่องด่วน นั้นสว่างอยู่ และมีไฟสีเหลืองอำพัน ถ้าเป็นเช่นนั้น ให้กดปุ่มดังกล่าวเพื่อออกจากโหมด Sleep

 ฮาร์ดดิสก์




ปัญหา : ข้อความแสดงการผิดพลาดเกี่ยวกับดิสก์ที่ไม่สามารถบูตได้
สาเหตุ : คอมพิวเตอร์พยายามเริ่มระบบจากดิสเก็ตต์ที่ไม่มีซอฟต์แวร์ สำหรับเริ่มระบบ
การแก้ปัญหา : นำแผ่นดิสเก็ตต์ออกจากไดรฟ์เมื่อไฟแสดงสถานะบนไดรฟ์ดับ แลว้ทำต่อๆ ไป โดยการกดคีย์ใด ๆ
บนแป้นพิมพ์
ปัญหา : การทำงานของฮาร์ดไดรฟ์ช้าลง
สาเหตุ : ไฟล์ข้อมูลที่เก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ อาจอยู่กระจัดกระจาย
การแก้ปัญหา : ตรวจสอบส่วนของข้อมูลที่หายไปโดยการรันโปรแกรม Disk Defragmenter เพื่อที่จะรันโปรแกรม Disk Defragmenter จากเดสก์ทอปของวินโดวส์ ให้ คลิกที่ปุ่ม Start แล้วชี้ไปที่ Programs จากนั้นชี้ไปที่ Accessories และชี้ไปที่ System Tools ท้ายสุดให้คลิกที่ Disk Defragmenter

ปัญหา : ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดไดรฟ์สว่างแต่ไม่กระพริบ
สาเหตุ : ไฟล์ข้อมูลที่เก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ของคุณ อาจจะเสียหาย
การแก้ปัญหา : ตรวจสอบส่วนของข้อมูลที่หายไปโดยการรันโปรแกรม Disk Defragmenter และเพื่อที่จะรันโปรแกรม Disk Defragmenter6 จากเดสก์ทอปของวินโดวส์ ให้คลิกที่ปุ่ม Start แล้วชี้ไปที่ Programs จากนั้นชี้ไปที่ Accessories และชี้ไปที่ System Tools ท้ายสุดให้คลิกที่ Disk Defragmenter

ซีดีรอม




ปัญหา : คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านแผ่นซีดีได้
สาเหตุ : ไม่ได้วางซีดีในไดรฟ์ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
การแก้ปัญหา : ถ้าคุณมีซีดีไดรฟ์แบบโหลดด้วยถาด ให้กดปุ่มนำแผ่นซีดีออก แล้วค่อย ๆ กดแผ่นซีดีลงในตำแหน่ง
ที่เหมาะสมจากนั้นโหลดแผ่นเข้าไปใหม่
ปัญหา : คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านแผ่นซีดีได้
สาเหตุ : ระบบไม่รู้จักซีดีไดรฟ์
การแก้ปัญหา : ปิดคอมพิวเตอร์ แล้วคอยอย่างน้อย 30 วินาที จากนั้นเปิดคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

ปัญหา : คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านแผ่นซีดีได้
สาเหตุ : ใส่แผ่นซีดีกลับข้าง
การแก้ปัญหา : นำแผ่นซีดีออก แล้วพลิกแผ่นซีดีกลับ จากนั้นโหลดเข้าไปใหม่

ปัญหา : คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านแผ่นซีดีได้
สาเหตุ : แผ่นซีดีสกปรก
การแก้ปัญหา : ทำความสะอาดแผ่นซีดีด้วยชุดทำความสะอาด

 ดิสก์เก็ต



ปัญหา : ไฟแสดงสถานะของดิสเก็ตต์สว่างอยู่
สาเหตุ : มีการใส่แผ่นดิสเก็ตต์อย่างไม่เหมาะสม
การแก้ปัญหา : นำแผ่นดิสเก็ตต์ออก แล้วใส่เข้าไปใหม่แผ่นดิสเก็ตต์เกิดความเสียหาย ใช้ดิสเก็ตต์แผ่นอื่น หรือตรวจสอบแผ่นดิสเก็ตต์โดยการรันโปรแกรม ScanDisk และเพื่อที่จะรันโปรแกรม ScanDisk จากเดสก์ทอปของวินโดวส์ ให้คลิกที่ปุ่ม Start แล้วชี้ไปที่ Programs จาก นั้นชี้ไปที่ Accessories และชี้ไปที่ System Tools ท้ายสุดให้คลิกที่ ScanDisk ซอฟต์แวร์
ปัญหา : ดิสเก็ตต์ไดรฟ์ไม่สามารถเขียนลงแผ่นดิสเก็ตต์ได้
สาเหตุ : แผ่นดิสเก็ตต์ยังไม่ได้ฟอร์แมต
การแก้ปัญหา : ให้ฟอร์แมตแผ่นดิสเก็ตต์

ปัญหา : ดิสเก็ตต์ไดรฟ์ไม่สามารถเขียนลงแผ่นดิสเก็ตต์ได้
สาเหตุ : ดิสเก็ตต์ไดรฟ์มีการป้องกันการเขียน (Write-Protected)
การแก้ปัญหา : ยกเลิกการป้องกันการเขียน หรือใช้ดิสเก็ตต์แผ่นอี่นที่ไม่มีการป้องกันการ เขียน
และเพื่อที่จะยกเลิกการป้องกันการเขียน ให้เลื่อนแผ่นสีดำที่ด้านหลังของแผ่นดิสเก็ตต์เพื่อปิดรู

ปัญหา : การเขียนข้อมูลลงไดรฟ์ที่ไม่ถูกต้อง
สาเหตุ : ตรวจสอบตัวอักษรของไดรฟ์ในสเตทเมนท์ของพาธ
การแก้ปัญหา : พรอมต์ A:\> แสดงว่าเรากำลังทำงานจากไดรฟ์ A ส่วนพรอมต์ C:\> แสดงว่าเรากำลังทำงานจากฮาร์ดไดรฟ์

ปัญหา : ไม่มีเนื้อที่เพียงพอบนแผ่นดิสเก็ตต์ ดิสเก็ตต์ออก หรือใช้ดิสเก็ตต์แผ่นอื่น
สาเหตุ : ลบข้อมูลบางส่วนที่เก็บอยู่บนแผ่น
การแก้ปัญหา : ระมัดระวังอย่าลบข้อมูลสำคัญที่เก็บอยู่บนแผ่นดิสเก็ตต์โดยบังเอิญ

ปัญหา : ดิสก์เก็ตต์ไดรฟ์ไม่สามารถอ่านแผ่นดิสเก็ตต์
สาเหตุ : แผ่นดิสเก็ตต์ ยังไม่ได้ฟอร์แมต
การแก้ปัญหา : ให้ฟอร์แมตแผ่นฮาร์ดแวร์

ปัญหา: คอมพิวเตอร์ไม่รู้จักอุปกรณ์ใหม่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์
สาเหตุ : ไม่ได้ตั้งค่าคอนฟิกคอมพิวเตอร์ของคุณหลังจากติดตั้งอุปกรณ์ใหม่
การแก้ปัญหา : ถ้าเป็นอุปกรณ์แบบพลักแอนด์เฟลย์ วินโดวส์จะรู้จักอุปกรณ์นั้นและตั้งค่า
คอนฟิกให้โดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ใช่พลักแอนด์ใ ห้อ่านเอกสารที่มาพร้อมกับอุปกรณ์สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งค่าคอนฟิก

ปัญหา: คอมพิวเตอร์ไม่รู้จักอุปกรณ์ใหม่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์
สาเหตุ : สายเคเบิลที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ใหม่เข้ากับคอมพิวเตอร์นั้นหลวม หรือยังไม่ได้เสียบสายไฟของอุปกรณ์
การแก้ปัญหา : เสียบสายไป และตรวจดูว่าอุปกรณ์นั้นต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์อย่างแน่นหนา

ปัญหา: คอมพิวเตอร์ไม่รู้จักอุปกรณ์ใหม่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคอมพิวเตอร์
สาเหตุ : เมื่อคอมพิวเตอร์แนะนำคุณให้เปลี่ยนแปลงค่าคอนฟิเกอเรชันของระบบ
การแก้ปัญหา : ปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วเปิดใหม่อีกครั้ง คุณจะเห็นข้อคุณไม่ได้ยอมรับการ
เปลี่ยนแปลงเหล่านั้น

 จอภาพ




ปัญหา : อักษรต่าง ๆ ที่ปรากฏบนหน้าจอมืดมัว
สาเหตุ : ไม่ได้ปรับตัวควบคุมความสว่างอย่างเหมาะสม
การแก้ปัญหา : ปรับตัวควบคุมความสว่างที่อยู่บนหน้าจอ
ปัญหา : หน้าจอว่างเปล่า
สาเหตุ : สายเคเบิลที่ต่อเชื่อมจอภาพเข้ากับ คอมพิวเตอร์นั้นหลวมยังหรือไม่ได้เสียบสายจอภาพ
การแก้ปัญหา : เสียบสายไป และตรวจดูให้แน่ใจว่าช่องเสียบจอภาพนั้นเชื่อมต่ออยู่กับ คอมพิวเตอร์อย่างเหมาะสมและแน่นพอ

ปัญหา : หน้าจอว่างเปล่า
สาเหตุ : คุณได้ติดตั้งยูทิลิตีที่ทำให้หน้าจอว่างเปล่า
การแก้ปัญหา : กดคีย์ใด ๆ หรือเคลื่อนไหวเมาส์ หน้าจอปัจจุบันจะปรากฏขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ปัญหา :หน้าจอว่างเปล่า
สาเหตุ : คอมพิวเตอร์อยู่ในโหมด Sleep
การแก้ปัญหา : กดปุ่ม เปิดเครื่องด่วน หน้าจอปัจจุบันจะปรากฏขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ปัญหา : จอภาพร้อนเกินไป
สาเหตุ : พื้นที่สำหรับระบายอากาศไม่เพียงพอให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
การแก้ปัญหา : เว้นพื้นที่ให้มีข้องระบายอากาศอย่างน้อย 3 นิ้ว (7.6 ซม.) ตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มี อะไรปิดอยู่ด้านบนของจอภาพที่ขัดขวางการหมุนเวียนของอากาศ

 เมาส์



ปัญหา : เมาส์ไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว
สาเหตุ : สายเมาส์เสียบไม่แน่นหนาในช่องเสียบที่ถูกต้อง ซึ่งอยู่ด้านหลังของคอมพิวเตอร์
การแก้ปัญหา : ตรวจสอบและเสียบสายเมาส์ให้แน่น

ปัญหา : เมาส์ไม่ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหว
สาเหตุ : ไม่ได้ติดตั้งไดรเวอร์ของเมาส์ หรือ ติดตั้งไดรเวอร์ที่ไม่ถูกต้อง
การแก้ปัญหา : ตรวจดูให้แน่ใจว่าได้ติดตั้งไดรเวอร์ของเมาส์ที่ถูกต้อง จากเดสก์ทอปของวินโดวส์ให้คลิกที่ปุ่ม Start จากนั้น ชี้ไปที่ Settings แล้วคลิกที่ Control Panel เมื่อเห็นหน้าต่าง Control Panel ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Mouse แล้วคลิกที่แท็บ General

 เครื่องพิมพ์

ปัญหา : เครื่องพิมพ์ไม่ทำงาน
สาเหตุ : ไม่ได้เสียบสายไฟของเครื่องพิมพ์ หรือไม่ได้เสียบสายเคเบิลของเครื่องพิมพ์
การแก้ปัญหา : ตรวจสอบปลายทั้งสองด้านของเครื่องพิมพ์ และสายไฟของเครื่องพิมพ์ว่ามีการเชื่อมต่ออย่างเหมาะสมหรือไม่ อย่างถูกต้องและแน่นหนา

ปัญหา : เครื่องพิมพ์ไม่พิมพ์
สาเหตุ : ไม่ได้เปิดเครื่องพิมพ์
การแก้ปัญหา : เปิดเครื่องพิมพ์

ปัญหา : เครื่องพิมพ์ไม่พิมพ์
สาเหตุ : เครื่องพิมพ์ไม่ได้อยู่ในโหมด ออนไลน์
การแก้ปัญหา : ตั้งค่าเครื่องพิมพ์ให้อยู่ในโหมดออนไลน์ เครื่องพิมพ์บางเครื่องมีปุ่มหรือ ตัวควบคุมอยู่บนแผงด้านหน้าสำหรับเปลี่ยนไปมาระหว่างโหมดออนไลน์และโหมดออฟไลน์ ถ้าเครื่องพิมพ์มีปุ่มหรือสวิตช์ ออนไลน์/ออฟไลน์ ให้เลือก ออนไลน์

ปัญหา : เครื่องพิมพ์พิมพ์ข้อมูลออกมาเป็นขยะ
สาเหตุ : ไม่ได้ติดตั้งหรือเลือกไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์ที่ถูกต้อง
การแก้ปัญหา : ตรวจดูให้แน่ใจว่ามีการติดตั้งและเลือกไดรเวอร์ของเครื่องพิมพ์ที่ถูกต้อง ไดรเวอร์ที่ถูกต้องของเครื่องพิมพ์มักจะระบุโดยชื่อของเครื่องพิมพ์

ปัญหา : เครื่องพิมพ์พิมพ์ข้อมูลออกมาเป็นขยะ
สาเหตุ : สายไฟของเครื่องพิมพ์ไม่ได้เชื่อมต่ออย่างเหมาะสม
การแก้ปัญหา :ให้อ่านเอกสารที่มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์ แล้วเชื่อมต่อสายไฟใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ความจำ - - - - - >

หน่วยความจำ

ปัญหา : เปิดคอมพิวเตอร์ไม่ได้
สาเหตุ : คอมพิวเตอร์โมดูลหน่วยความจำผิดชนิด
การแก้ปัญหา : การใช้โมดูลหน่วยความจำอื่นอาจมีผลทำให้การเริ่มระบบยากขึ้นเมื่อคุณอัปเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์ คุณจะต้องใช้หน่วยความจำ EDO 60 นาโนวินาที
ปัญหา : หน่วยความจำไม่เพียงพอที่จะรันโปรแกรม
สาเหตุ : หน่วยความจำไม่ได้รับการตั้งค่าคอนฟิกอย่างเหมาะสมสำหรับโปรแกรม
การแก้ปัญหา : โปรแกรมจำเป็นต้องใช้หน่วยความจำจำนวนหนึ่งในการรัน ปิดโปรแกรม ใด ๆ ที่กำลังใช้อยู่เพื่อที่จะดูว่าโปรแกรมดังกล่าวจำเป็นต้องใช้หน่วยความจำเท่าใด ให้อ่าน เอกสารที่มาพร้อมกับโปรแกรมนั้น

ปัญหา : คอมพิวเตอร์แสดงข้อความว่า out of memory
สาเหตุ : ค่าคอนฟิเกอเรชันของหน่วยความจำตั้งค่าที่ไม่ถูกต้อง , หน่วยความจำไม่พอในการรัน
การแก้ปัญหา : ปิดโปรแกรมที่คุณกำลังใช้อยู่ อ่านเอกสารที่มาพร้อมกับโปรแกรมเพื่อดูข้อกำหนดเกี่ยวกับหน่วยความจำ คุณอาจต้องซื้อและติดตั้งหน่วยความจำเพิ่มเติม

ปัญหา : คอมพิวเตอร์แสดงข้อความว่า Insufficient memory
สาเหตุ : หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เหลือไม่เพียงพอที่จะรัน โปรแกรม
การแก้ปัญหา :โปรแกรมบางอย่างจะแอกทีฟอยู่ในแบ็กกราวนด์เมื่อเราเปิดขึ้นมา โปรแกรมเหล่านี้ใช้หน่วยความจำบางส่วนถึงแม้ว่าจะรันอยูในแบ็กกราวด์ก็ตาม

/โมเดม- - - - - >

แฟกซ์/โมเดม

ปัญหา : แฟกซ์/โมเด็มไม่ตอบสนองต่อซอฟต์แวร์แฟกซ์/โมเด็ม
สาเหตุ : ไม่ได้ต่อแฟกซ์/โมเด็มอยู่อย่างเหมาะสม
การแก้ปัญหา : ตรวจดูให้แน่ใจว่าได้ต่อแฟกซ์/โมเด็มไว้อย่างแน่นหนา และสายโทรศัพท์  เสียบอยู่ที่เต้าเสียบที่ฝาผนังอย่างแน่นหนา
ปัญหา : แฟกซ์/โมเด็มไม่ตอบสนองต่อซอฟต์แวร์แฟกซ์/โมเด็ม
สาเหตุ : มีการกำหนดอุปกรณ์มากกว่า 1 ตัวให้กับพอร์ตอนุกรม
การแก้ปัญหา : ตรวจดูให้แน่ใจว่าไม่มีอุปกรณ์อื่นใช้พอร์ตอนุกรมเดียวกับแฟกซ์/โมเด็ม

ปัญหา : การสื่อสารด้วยแฟกซ์/โมเด็มเป็นไปอย่างยากลำบาก
สาเหตุ : แฟกซ์/โมเด็มอาจจะเกิความขัดแย้งกับโปรแกรมอื่น
การแก้ปัญหา : โปรแกรมบางอันอาจจะขัดแย้งกับซอฟต์แวร์แฟกซ์/โมเด็มในตัวของคอมพิวเตอร์ให้ออกจากโปรแกรมใด ๆ ที่คุณกำลังรัน แต่ไม่ได้ใช้งานอยู่

ปัญหา : การสื่อสารด้วยแฟกซ์/โมเด็มเป็นไปอย่างยากลำบาก
สาเหตุ : เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นวางหู
การแก้ปัญหา :หมุนหมายเลขแฟกซ์ใหม่สายโทรศัพท์มี

ปัญหา : การสื่อสารด้วยแฟกซ์/โมเด็มเป็นไปอย่างยากลำบาก
สาเหตุ : เสียงดังมาก และการโทรศัพท์ถูกตัด
การแก้ปัญหา : หมุนหมายเลขแฟกซ์ใหม่ ถ้าปัญหายังคงเกิดอยู่ ให้ตรวจสอบกับ องค์การ โทรศัพท์โดยปกติจะมีฟิลเตอร์ให้มาเพื่อช่วยลดเสียงรบกวนในสาย นอกจากนั้น ให้ตรวจสอบการเชื่อมต่อโทรศัพท์ และแฟกซ์/โมเด็ม ถ้าสายที่ต่ออยู่หลวม แม้ว่าเล็กน้อย ก็อาจจะก่อให้เกิดเสียงรบกวนในสายได้

ปัญหา : การสื่อสารด้วยแฟกซ์/โมเด็มเป็นไปอย่างยากลำบาก
สาเหตุ : คุณมีสายเรียกซ้อน (Call Waiting) รออยู่ในสายโทรศัพท์ของคุณ สายเรียกซ้อนเข้ามานี้  จะตัดการเชื่อมต่อของโมเด็ม
การแก้ปัญหา : ในบางพื้นที่ บริการับสายเรียกซ้อนสามารถยกเลิกได้โดยการกด *70 ,ก่อนที่จะหมุน

ปัญหา : การสื่อสารด้วยแฟกซ์/โมเด็มเป็นไปอย่างยากลำบาก
สาเหตุ : โทรศัพท์พ่วงบนสายโทรศัพท์เดียวกัน
การแก้ปัญหา : ตรวจดูให้แน่ใจว่าโทรศัพท์ทั้งหมดที่เชื่อมต่ออยู่กับสายโทรศัพท์เดียวกันกับยกหูขึ้นแฟกซ์/โมเด็มวางอยู่ อย่างเหมาะสม

ปัญหา : ไม่มีเสียงสัญญาณดังขึ้นขณะที่ต่อโมเด็มอยู่
สาเหตุ : คอมพิวเตอร์ใช้โมเด็ม K56flex
การแก้ปัญหา : ถ้าคุณมีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคอมแพครุ่นเพรสซาริโอ 4500 ที่มาพร้อมกับ โมเด็ม K56flex คุณจะไม่ได้ยินสัญญาณใด ๆ ในขณะที่ กำลังเชื่อมต่อโมเด็มข้อมูลเกี่ยวกับ ไวรัสของคอมพิวเตอร์

เสียง - - - - - >

ระบบเสียง

ปัญหา : คอมพิวเตอร์ไม่มีเสียง
สาเหตุ : มีการปิดระบบเสียง
การแก้ปัญหา : คลิกที่ไอคอน Speaker บนทาสก์บาร์ของวินโดวส์ เมื่อบ็อกซ์ควบคุมระดับเสียง ปรากฏตรวจดูให้แน่ใจว่าเช็คบ็อกซ์ Mute ไม่มีเครื่องหมายใดอยู่มีการลดระดับเสียงให้เบาเพิ่ม ระดับเสียงโดยการกดปุ่มเพิ่มระดับเสียง (+)ที่ด้านหน้าของคอมพิวเตอร์ลำ โพงไม่ได้รับการ เชื่อมต่ออย่าง ตรวจดูให้แน่ในว่าลำโพงเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แน่นหนาหรือไม่

 ไวรัส




virus"ไวรัสของคอมพิวเตอร์" เป็นรหัสคำสั่งการของซอฟต์แวร์ที่ทำความเสียหายหรือลบข้อมูล ไฟล์ หรือซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะติดไวรัสเมื่อใส่ซอฟต์แวร์หรือไฟล์ที่มีไวรัสลงไปในคอมพิวเตอร์ ดิสเกตต์จากเพื่อน หรือที่ได้มาจากการติดต่อธุรกิจมักจะเป็นแหล่งกำเนิดไวรัส อาการที่บ่งบอกว่าคอมพิวเตอร์ของคุณติดไวรัสมีดังนี้
1. มีตัวอักษรแปลก ๆ หรือข้อความหยาบ ๆ ปรากฎอยู่บนหน้าจอ
2. มีข้อความแสดงการผิดพลาดของฮาร์ดไดรฟ์ หน่วยความจำ หรือซอฟต์แวร์
3. ไฟล์และไดเรคทอรีเกิดความเสียหาย
บริการออนไลน์เชิงพาณิชย์และผู้ผลิตซอฟต์แวร์จะตรวจจับไวรัสอย่างเข้มงวด และมักจะประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ไม่มีวิธีใดที่แน่นอน 100 เปอร์เซ็นต์
มีบริษัทมากมายที่จำหน่ายซอฟต์แวร์ค้นหาและป้องกันไวรัส คุณควรจะมีเวอร์ชันล่าสุดของซอฟต์แวร์เหล่านี้ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้รับการอัปเดตอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากผู้สร้างและเผยแพร่ไวรัส ซึ่งถือเป็นผู้ที่ทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศจะอัปเดตโปรแกรมไวรัสอยู่เป็นประจำด้วยเช่นกัน ให้ถามหาซอฟต์แวร์ค้นหาและป้องกันไวรัสล่าสุดจากร้านค้าคอมพิวเตอร์ใกล้บ้านของคุณ
   

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

mac os

Mac OS

ประวัติ Mac OS



      Apple Dos คือระบบปฏิบัติการสำหรับชุด Apple IIของไมโครคอมพิวเตอร์จากปลาย 1978 ถึงต้น 1983 แอปเปิ้ล DOS มีสามรุ่นหลักคือ DOS 3.1, DOS 3.2, และ DOS 3.3;

รูปหน้าตาOS Apple Lisa
Apple Lisa สำหรับชุด Apple Lisa ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อปี 1983 เป็น OS ที่มีการติดต่อกับผู้ใช้ แบบ (Graphical User Interface, GUI)

รูปหน้าตาของ System1,2,3,4
System 1,2,3,4 คือระบบปฏิบัติการของ Apple ในปี 1984

System Sfotware 5 คือระบบปฏิบัติการของ Apple ในปี 1988

 รูปของSystem Sfotware 6
System Sfotware 6 คือระบบปฏิบัติการของ Apple ในปี 1988

รูป System Software 7
System Sfotware 7 คือระบบปฏิบัติการของ Apple ในปี 1991





รูป Mac OS 8
Mac OS 8 คือระบบปฏิบัติการของ Apple ในปี 1997


รูปMac OS 9
Mac OS 9 คือระบบปฏิบัติการของ Apple ในปี 1999

Mac OS X ตัวอักษร X หมายถึงเลขสิบในระบบเลขโรมัน และอ่านออกเสียงว่า Ten แปลว่า "สิบ" แสดงถึงรุ่นที่ต่อมาจากแมคโอเอสตัวก่อนหน้าคือ แมคโอเอส9 นอกจากนี้ตัวอักษร X ยังแสดงถึงความเป็นยูนิกซ์ (UNIX) ในตัวระบบปฏิบัติการด้วย
แอปเปิลได้มีวิธีการเรียกชื่อแมคโอเอสเท็นถึงสามวิธี
  Mac OS X v10.4 บอกเฉพาะเลขรุ่น (หมายเหตุ: ต้องมีอักษร v ด้วยเสมอ)
  Mac OS X Tiger บอกเฉพาะรหัสในการพัฒนา
  Mac OS X v10.4 "Tiger" บอกทั้งเลขรุ่นและรหัสในการพัฒนา


 รุ่นต่างๆของ Mac Os X

รูปMac OS X Public Beta (Kodiak)
Mac OS X Public Beta (Kodiak)


รูป OS X 10.0(Cheetah)
Mac OS X 10.0 (Cheetah)


รูปMac OS X 10.1 (Puma)
Mac OS X 10.1 (Puma)
เพิ่มความเร็วในการทำงาน และความสามารถอื่นๆ เช่น การเล่นดีวีดี






รูปMac OS X 10.2 (Jaguar)
Mac OS X 10.2 (Jaguar)
เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน หน้าตาแบบใหม่ และความสามารถ เช่น
* สนับสนุนเครือข่ายที่เป็นไมโครซอฟท์วินโดวส์
* iChat - อินสแตนท์ เมสเซจจริง
* Apple Rendezvous - การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบอัตโนมัติ
* CUPS (The Common Unix Printing System)

รูปMac OS X 10.3 (Panther)
Mac OS X 10.3 (Panther)
พัฒนาความสามารถด้านอื่นเพิ่มขึ้น แต่หยุดสนับสนุนสถาปัตยกรรมแบบ G3 แล้ว ความสามารถเด่นมีดังนี้
* Expose - การแสดงหน้าต่างทำงานทั้งหมดในหน้าจอเดียว ทำให้ผู้ใช้เปลี่ยนหน้าต่างทำงานได้อย่างรวดเร็ว
* Fast User Switching
* FileVault
* เพิ่มการสนับสนุนสถาปัตยกรรม G5

รูปMac OS X 10.4 (Tiger)

Mac OS X 10.4 (Tiger)
ความสามารถเด่นมีดังนี้
* Spotlight
* Dashboard
* QuickTime 7
* Automator
* Front row

รูปMac OS X 10.5 (Leopard)
Mac OS X 10.5 (Leopard)
แมคโอเอสเทน เลเพิร์ด (มักเรียกผิดเป็น ลีโอพาร์ด) มีความสามารถเด่นที่ประกาศแล้วดังนี้
* Time Machine
* Spaces
* Core Animation
* Quicklook
* Stack
* Finder ใหม่ที่รวม Cover Flow view เข้าไป
* รองรับ 64-bit
นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงแอปพลิเคชันที่มีอยู่เดิมอีกด้วย

รูปMac OS X 10.6 (Snow Leopard)
Mac OS X 10.6 (Snow Leopard)
แมคโอเอส สโนว์ เลเพิร์ด โดยหยุดการสนับสนุนสถาปัตยกรรม PowerPC และมีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมดังนี้
* Dock Exposé
* QuickTime X
* Grand Central Dispatch
* Safari 4
* เขียนภาษาจีนโดยใช้ Trackpad ได้
* ติดตั้งเร็วขึ้น 45%
* ใช้พื้นที่น้อยลง 6GB
* ปรับปรุงโค้ดกว่า 90%
* เปลี่ยนเป็นระบบปฏิบัติการ 64 บิต อย่างสมบูรณ์
* โปรแกรมทั้งหมดเปลี่ยนเป็น 64 บิต


Mac OS X 10.7 (Lion)
Mac OS X 10.7 (Lion)
แมคโอเอส ไลออน
* Safari 5
* Facetime
* iLife' 11
* Launchpad
* Mission Control
* Mac App Store
* Full-screen apps
* Multi-Touch gestures
* Auto save
* Apps resume when launched
* Autohiding Scrollbars
* รองรับ Multitouch gestures เพิ่มมากขึ้น (สำหรับ Apple MagicMouse และ Apple MagicTrackpad)
* รองรับการ Preview ในรูปแบบเต็มหน้าจอ




windows

windows

การเริ่มต้น: Microsoft Paul Allen (ซ้าย) และ Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้งในช่วงปี 2513 ที่ทำงานเราต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีด หากจำเป็นต้องทำสำเนาเอกสาร เราก็จะใช้เครื่องโรเนียวหรือกระดาษคาร์บอน มีน้อยมากที่จะได้ยินเกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์ แต่เด็กหนุ่มสองคนที่ชื่นชอบคอมพิวเตอร์อย่าง Bill Gates และ Paul Allen กลับเห็นว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคือเส้นทางสู่อนาคต ในปี 2518 Gates และ Allen ร่วมกันก่อตั้งบริษัทที่ชื่อ Microsoft ซึ่งก็ไม่ต่างจากบริษัทที่เริ่มกิจการใหม่ส่วนใหญ่ โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ แต่มีวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือ บนทุกโต๊ะทำงานและในทุกบ้านต้องมีคอมพิวเตอร์ ในปีต่อๆ มา Microsoft เริ่มเข้ามาเปลี่ยนวิธีการทำงานของเรา


การเริ่มต้นของ MSDOSในเดือนมิถุนายน 2523 Gates และ Allen ได้ว่าจ้าง Steve Ballmer อดีตเพื่อนร่วมชั้นเรียนจากฮาร์วาร์ดของ Gates ให้มาช่วยพวกเขาดำเนินกิจการของบริษัท ในเดือนต่อมา IBM ได้เข้ามาติดต่อ Microsoft เกี่ยวกับโปรเจ็กต์ที่ชื่อว่า "Chess" ด้วยเหตุนี้ Microsoft จึงได้หันมาให้ความสำคัญกับระบบปฏิบัติการใหม่ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดการ หรือเรียกใช้ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์และยังทำหน้าที่เชื่อมช่องว่างระหว่าง ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์กับโปรแกรม เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ พวกเขาตั้งชื่อระบบปฏิบัติการใหม่นี้ว่า "MSDOS" เมื่อมีการวางจำหน่ายพีซีของ IBM ที่ใช้ MSDOS ในปี 2524 ถือเป็นการเปิดตัวภาษาใหม่ให้สาธารณชนทั่วไปรู้จัก การพิมพ์ "C:" และคำสั่งที่เป็นรหัสต่างๆ เริ่มกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานประจำวัน ผู้คนรู้จักแป้นเครื่องหมายทับขวา (\) MSDOS เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ แต่ก็พบว่าเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่เข้าใจได้ยาก มีวิธีที่ดีกว่านั้นในการสร้างระบบปฏิบัติการ 

1982–1985: การเปิดตัว Windows 1.0

Microsoft ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการใหม่รุ่นแรก Interface Manager เป็นชื่อรหัสและมีการเลือกให้เป็นชื่อสุดท้าย แต่ชื่อ Windows กลับมาเหนือกว่าเพราะอธิบายได้ดีที่สุดถึงกล่องหรือ "หน้าต่าง" ของคอมพิวเตอร์ที่เป็นรากฐานของระบบใหม่ Windows ได้รับการประกาศออกมาในปี 2526 แต่ก็มีการใช้เวลาระยะหนึ่งในการพัฒนา พวกชอบสงสัยเรียกว่าระบบนี้ว่า "ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีจริง"

ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2528 สองปีหลังจากการประกาศเปิดตัวครั้งแรก Windows วางจำหน่าย Windows 1.0 ตอนนี้ แทนที่จะพิมพ์คำสั่ง MSDOS คุณเพียงแค่เลื่อนเมาส์เพื่อชี้และคลิกที่ตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ หรือ "หน้าต่าง" เท่านั้น Bill Gates พูดว่า "นี่คือซอฟต์แวร์พิเศษเฉพาะที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้พีซีอย่างแท้จริง…" เมนูแบบหล่นลง แถบเลื่อน ไอคอน และกล่องโต้ตอบทำให้การเรียนรู้และใช้งานโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น คุณสามารถสลับระหว่างโปรแกรมต่างๆ ได้โดยไม่ต้องออกจากอีกโปรแกรมหรือเริ่มระบบใหม่ Windows 1.0 วางจำหน่ายพร้อมกับอีกหลายๆ โปรแกรม ซึ่งได้แก่ การจัดการแฟ้ม MSDOS โปรแกรมระบายสี, Windows Writer, แผ่นจดบันทึก เครื่องคิดเลข และปฏิทิน แฟ้มการ์ด และนาฬิกาเพื่อช่วยคุณจัดการกับงานในแต่ละวัน และยังมีกระทั่งเกม Reversi

1987–1992: Windows 2.0–2.11 - หน้าต่างมากขึ้น ความเร็วเพิ่มขึ้น

ในวันที่ 9 ธันวาคม 2530 Microsoft ได้วางจำหน่าย Windows 2.0 ที่มีไอคอนบนเดสก์ท็อปและหน่วยความจำส่วนขยาย ด้วยการสนับสนุนกราฟิกที่ได้รับการปรับปรุง ตอนนี้คุณสามารถซ้อนทับหน้าต่าง ควบคุมเค้าโครงของหน้าจอ และใช้แป้นพิมพ์เพื่อให้ทำงานได้รวดเร็วขึ้น นักพัฒนาซอฟต์แวร์บางคนเขียนโปรแกรมแรกของตนเองบน Windows รุ่นนี้Windows 2.0 ออกแบบมาสำหรับการใช้งานกับตัวประมวลผล Intel 286 เมื่อมีการวางจำหน่ายตัวประมวลผล Intel 386 Windows/386 ก็ออกตามมาทันทีเพื่อใช้ประโยชน์จากความสามารถของหน่วยความจำส่วนขยาย Windows รุ่นต่อมายังคงมีการปรับปรุงความเร็ว ความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการใช้งานของพีซีอย่างต่อเนื่อง ในปี 2531 Microsoft กลายเป็นบริษัทซอฟต์แวร์สำหรับพีซีรายใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อดูจากยอดขาย คอมพิวเตอร์เริ่มกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันสำหรับผู้ที่ทำงานใน สำนักงานบางแห่ง


1990–1994: Windows 3.0–Windows NT การใช้กราฟิก

ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2533 Microsoft ได้ประกาศเปิดตัว Windows 3.0 และตามมาด้วย Windows 3.1 ในปี 2535 เมื่อนับรวมกัน ทั้งสองรุ่นสามารถขายได้ 10 ล้านสำเนาในระยะเวลา 2 ปีแรก ทำให้ระบบปฏิบัติการ Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่มีการใช้กันแพร่หลายมากที่สุด จากความสำเร็จนี้ทำให้ Microsoft ปรับปรุงแผนการก่อนหน้านี้ หน่วยความจำเสมือนช่วยปรับปรุงกราฟิกการแสดงผล ในปี 2533 Windows เริ่มมีลักษณะเหมือนกับรุ่นที่ใช้งานกันอยู่ ในตอนนี้ Windows ได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพให้ดีขึ้นอย่างมาก มีการ์ดกราฟิกขั้นสูง 16 สี และไอคอนที่ปรับปรุงใหม่ คลื่นลูกใหม่ของพีซี 386 ช่วยผลักดันความนิยมของ Windows 3.0 ให้เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากตัวประมวลผล Intel 386 ทำให้สามารถเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวจัดการโปรแกรม ตัวจัดการแฟ้ม และตัวจัดการการพิมพ์มีการเพิ่มเข้ามาใน Windows 3.0Bill Gates แสดง Windows 3.0 รุ่นที่วางจำหน่ายล่าสุดซอฟต์แวร์ Windows มีการติดตั้งโดยใช้ฟลอปปีดิสก์ที่อยู่ในกล่องขนาดใหญ่พร้อมมีคู่มือการใช้งานเล่มหนา ความนิยมของ Windows 3.0 เติมโตพร้อมกับการวางจำหน่าย Windows software development kit (SDK) ใหม่ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้มุ่งเน้นที่การเขียนโปรแกรมมากขึ้นและ ใช้เวลาในการเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์น้อยลง Windows มีการใช้งานในที่ทำงานและที่บ้านมากขึ้นเรื่อยๆ และตอนนี้ยังมีเกมต่างๆ เช่น Solitaire, Hearts และ Minesweeper โดยมีการโฆษณาว่า "ตอนนี้คุณสามารถใช้ความสามารถที่เหลือเชื่อของ Windows 3.0 เพื่อฆ่าเวลาได้แล้ว" Windows สำหรับ Workgroups 3.11 ได้เพิ่มเวิร์กกรุ๊ปแบบเพียร์ทูเพียร์และการสนับสนุนเครือข่ายโดเมน และเป็นครั้งแรกที่พีซีกลายเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ที่เกิดใหม่


Windows NT
เมื่อ Windows NT ออกวางจำหน่ายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2536 Microsoft ได้มาถึงช่วงระยะเวลาที่สำคัญ นั่นคือ โปรเจ็กต์ที่เริ่มมาตั้งแต่ปลายปี 2523 เพื่อสร้างระบบปฏิบัติการใหม่ขั้นสูงตั้งแต่เริ่มต้นได้เสร็จสมบูรณ์ลงแล้ว "Windows NT แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงรากฐานของวิธีการที่บริษัทต่างๆ สามารถใช้จัดการกับความต้องการด้านคอมพิวเตอร์ของธุรกิจได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่า กัน" Bill Gates กล่าวไว้เมื่อออกวางจำหน่าย ซึ่งแตกต่างจาก Windows 3.1 อย่างไรก็ตาม Windows NT 3.1 เป็นระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มธุรกิจเชิงกลยุทธ์ที่รองรับโปรแกรมทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์ระดับสูง

1995–2001: Windows 95 - เติบโตเต็มที่

ในวันที่ 24 สิงหาคม 2538 Microsoft ได้ออกวางจำหน่าย Windows 95 ซึ่งสามารถสร้างสถิติทำยอดขายได้ถึง 7 ล้านสำเนาในช่วงห้าสัปดาห์แรก นับเป็นการเปิดตัวที่มีการเผยแพร่มากที่สุดที่ Microsoft เคยทำมา การโฆษณาทางโทรทัศน์ใช้เพลงของ Rolling Stones ที่ชื่อว่า"Start Me Up" อยู่เหนือรูปภาพของปุ่ม 'เริ่ม' ซึ่งเป็นปุ่มใหม่ ข่าวประชาสัมพันธ์เพียงแค่ขึ้นต้นว่า: "อยู่ที่นี่ไง"



วันเปิดตัว: Bill Gates แนะนำ Windows 95 นี่คือยุคของแฟกซ์/โมเด็ม อีเมล โลกออนไลน์แบบใหม่ และเกมมัลติมีเดียที่ละลานตาและซอฟต์แวร์ทางการศึกษา Windows 95 มีการสนับสนุนอินเทอร์เน็ตในตัว การเชื่อมต่อเครือข่ายผ่านสายโทรศัพท์ และความสามารถใหม่ Plug and Play ที่ทำให้ติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้อย่างง่ายดาย ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิตยังมีความสามารถของมัลติมีเดียขั้นสูง คุณลักษณะมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับคอมพิวเตอร์แบบพกพา และการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบครบวงจร ในช่วงเวลาที่มีการวางจำหน่าย Windows 95 ระบบปฏิบัติการ Windows และ MSDOS รุ่นก่อนหน้ามีการใช้งานอยู่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของพีซีที่มีอยู่ในโลก Windows 95 เป็นการปรับรุ่นให้กับระบบปฏิบัติการเหล่านี้ เมื่อต้องการเรียกใช้ Windows 95 คุณจำเป็นต้องมีพีซีที่มีตัวประมวลผล 386DX หรือที่สูงกว่า (ขอแนะนำ 486) และมี RAM อย่างน้อย 4 MB (ขอแนะนำ RAM 8 MB) รุ่นสำหรับปรับรุ่นมีทั้งในรูปแบบฟลอปปีดิสก์และซีดีรอม โดยสามารถใช้งานได้ใน 12 ภาษา Windows 95 ยังมีการปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกของเมนู 'เริ่ม' แถบงาน และย่อเล็กสุด ขยายใหญ่สุด และปุ่มปิดบนแต่ละหน้าต่าง

1998–2000: Windows 98, Windows 2000, Windows Me
 

Windows 98
วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2541 Windows 98 เป็นรุ่นแรกของ Windows ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับผู้ใช้ทั่วไป พีซีกลายเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไปในที่ทำงานและที่บ้าน และร้านอินเทอร์เน็ตที่คุณสามารถออนไลน์เกิดขึ้นมาอย่างมากมาย Windows 98 แสดงถึงการเป็นระบบปฏิบัติการที่ "ทำงานได้ดีขึ้น เล่นได้ดีกว่าเดิม" ด้วย Windows 98 คุณสามารถค้นหาข้อมูลบนพีซีของคุณและบนอินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น การปรับปรุงอื่นๆ ได้แก่ ความสามารถในการเปิดและการปิดโปรแกรมที่รวดเร็วขึ้น และการสนับสนุนการอ่านดิสก์ดีวีดีและอุปกรณ์ universal serial bus (USB) ลักษณะที่ปรากฏเป็นครั้งแรกอีกอย่างคือ แถบ 'เปิดใช้งานด่วน' คุณสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้โดยไม่ต้องเปิดเมนู 'เริ่ม' หรือค้นหาโปรแกรมบนเดสก์ท็อป


Windows Me

ออกแบบมาสำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่บ้าน Windows Me มีการปรับปรุงคุณลักษณะเกี่ยวกับเพลง วิดีโอ และเครือข่ายภายในบ้านจำนวนมาก และมีการปรับปรุงการทำงานให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นเมื่อเทียบกับรุ่นก่อน หน้า ลักษณะที่ปรากฏเป็นครั้งแรก ได้แก่ 'การคืนค่าระบบ' คุณลักษณะที่สามารถย้อนกลับการกำหนดค่าซอฟต์แวร์พีซีของคุณไปยังวันที่หรือ เวลาก่อนที่จะเกิดปัญหาได้ Windows Movie Maker ทำให้ผู้ใช้มีเครื่องมือที่สามารถแก้ไข บันทึกและแบ่งปันวิดีโอภาพครอบครัวในแบบดิจิทัล และด้วยเทคโนโลยี Microsoft Windows Media Player 7 คุณสามารถค้นหา จัดระเบียบ และเล่นสื่อดิจิทัลได้ 

Windows 2000 Professional

มากกว่าเพียงแค่การปรับรุ่นเป็น Windows NT Workstation 4.0 แต่ Windows 2000 Professional ออกแบบมาเพื่อแทนที่ Windows 95, Windows 98 และ Windows NT Workstation 4.0 บนเดสก์ท็อปและแล็ปท็อปสำหรับธุรกิจทั้งหมด โดยสร้างบนฐานโค้ด Windows NT Workstation 4.0 ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ายอดเยี่ยม Windows 2000 ได้เพิ่มการปรับปรุงที่สำคัญในด้านความน่าเชื่อถือ การใช้งานง่าย ความเข้ากันได้กับอินเทอร์เน็ต และการสนับสนุนการใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพา นอกจากการปรับปรุงต่างๆ แล้ว Windows 2000 Professional ยังทำให้การติดตั้งฮาร์ดแวร์เป็นเรื่องง่าย โดยการเพิ่มการสนับสนุนฮาร์ดแวร์ Plug and Play แบบใหม่ให้หลากหลายมากขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์การเชื่อมต่อเครือข่ายขั้นสูงและระบบไร้สาย อุปกรณ์ USB อุปกรณ์ IEEE 1394 และอุปกรณ์อินฟราเรด


2001–2005: Windows XP - ความเสถียร ความพร้อมใช้งาน และความรวดเร็ว

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2544 มีการวางจำหน่าย Windows XP ที่มาพร้อมรูปลักษณ์ที่ออกแบบใหม่ โดยเน้นที่ความสามารถในการใช้งานและศูนย์บริการช่วยเหลือและวิธีใช้แบบครบ วงจรเป็นหลัก โดยสามารถใช้งานได้ใน 25 ภาษา นับแต่ช่วงกลางปี 2513 จนถึงการวางจำหน่าย Windows XP มีพีซีประมาณ 1 พันล้านเครื่องทั่วโลกที่มีการติดตั้งโปรแกรมนี้ สำหรับ Microsoft ระบบปฏิบัติการ Windows XP กำลังจะกลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ขายดีอันดับหนึ่งในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ด้วยความรวดเร็วและความสเถียรของระบบ การนำทางไปยังเมนู 'เริ่ม' แถบงาน และแผงควบคุมสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น การตระหนักเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์และแฮกเกอร์มีเพิ่มมากขึ้น แต่ความกลัวต่างๆ มีการทำให้สงบลงด้วยการนำเสนอการปรับปรุงด้านความปลอดภัยทางออนไลน์ ผู้ใช้เริ่มเข้าใจถึงคำเตือนเกี่ยวกับเอกสารแนบที่น่าสงสัยและไวรัส โดยมีการให้ความสำคัญกับบริการช่วยเหลือและวิธีใช้มากขึ้น
Windows XP Home Edition มีการออกแบบด้านภาพให้ดูสบายตาและเรียบง่าย ทำให้สามารถเข้าถึงคุณลักษณะที่ใช้งานบ่อยได้ง่ายขึ้น ออกแบบสำหรับการใช้งานภายในบ้าน Windows XP มีการปรับปรุงต่างๆ เช่น ตัวช่วยสร้างการติดตั้งเครือข่าย Windows Media Player, Windows Movie Maker และความสามารถด้านภาพถ่ายดิจิทัลขั้นสูง
Windows XP Professional นำรากฐานที่แข็งแกร่งของ Windows 2000 มาให้กับพีซีเดสก์ท็อป โดยการปรับปรุงความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพ ด้วยการออกแบบด้านการแสดงผลใหม่ล่าสุด Windows XP Professional ประกอบด้วยคุณลักษณะต่างๆ สำหรับการใช้งานคอมพิวเตอร์ในธุรกิจและการใช้คอมพิวเตอร์ขั้นสูงที่บ้าน รวมถึงการสนับสนุนเดสก์ท็อประยะไกล และการเข้ารหัสระบบแฟ้ม และคุณลักษณะการคืนค่าระบบและการเชื่อมต่อเครือข่ายขั้นสูง การปรับปรุงที่สำคัญสำหรับผู้ใช้ระบบเคลื่อนที่ ได้แก่ การสนับสนุนเครือข่ายไร้สาย 802.1x, Windows Messenger และความช่วยเหลือระยะไกล
Windows XP มีอยู่หลายรุ่นในช่วงปีเหล่านี้
Windows XP รุ่น 64 บิต (2001) เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรกของ Microsoft สำหรับตัวประมวลผล 64 บิตที่ออกแบบมาสำหรับการทำงานกับหน่วยความจำขนาดใหญ่และโปรเจ็กต์ต่างๆ เช่น ลักษณะพิเศษของภาพยนตร์ ภาพเคลื่อนไหวสามมิติ โปรแกรมทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์Windows XP Media Center Edition (2002) เหมาะสำหรับการใช้คอมพิเตอร์ภายในบ้านและการให้ความบันเทิง คุณสามารถเรียกดูอินเทอร์เน็ต ดูทีวีแบบสด เพลิดเพลินกับคอลเลกชันเพลงและวิดีโอดิจิทัล และดูดีวีดีWindows XP Tablet PC Edition (2002) แสดงถึงวิสัยทัศน์ของการใช้งานคอมพิวเตอร์ด้วยปากกา แท็บเล็ตพีซีมีปากกาดิจิทัลสำหรับการรู้จำลายมือและคุณสามารถใช้เมาส์หรือ แป้นพิมพ์ได้เช่นกันเกร็ดน่าสนใจ: Windows XP เป็นการคอมไพล์จากโค้ดจำนวน 45 ล้านบรรทัด


2006–2008: Windows Vista- ประสิทธิภาพที่มาพร้อมความปลอดภัย

Windows Vista วางจำหน่ายในปี 2549 พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่งที่สุด 'การควบคุมบัญชีผู้ใช้' ช่วยป้องกันซอฟต์แวร์ที่อาจเป็นอันตรายไม่ให้เปลี่ยนแปลงคอมพิวเตอร์ของคุณ ใน Windows Vista Ultimate การเข้ารหัสลับไดรฟ์ด้วย BitLocker ให้การปกป้องข้อมูลที่ดีกว่าสำหรับคอมพิวเตอร์ของคุณ เนื่องจากยอดขายแล็ปท็อปและความต้องการด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นทำให้ Windows Vista ยังมีการปรับปรุงสำหรับ Windows Media Player เพื่อให้ผู้ใช้เห็นว่าพีซีของพวกเขาเป็นเป็นศูนย์รวมของสื่อดิจิทัลมากยิ่ง ขึ้น คุณจะสามารถดูทีวี ดูและส่งภาพถ่าย และแก้ไขวิดีโอบนพีซีได้การออกแบบมีบทบาทสำคัญใน Windows Vista และคุณลักษณะต่างๆ เช่น แถบงานและเส้นขอบรอบหน้าต่างช่วยสร้างรูปลักษณ์ใหม่ การค้นหาเป็นคุณลักษณะใหม่ที่มีการให้ความสำคัญและช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาแฟ้มบน พีซีของตนได้รวดเร็วขึ้น Windows Vista นำเสนอโปรแกรมรุ่นใหม่ๆ ที่มีการผสมผสานของคุณลักษณะที่แตกต่างกัน โดยสามารถใช้งานได้ใน 35 ภาษา ปุ่ม 'เริ่ม' ที่ออกแบบใหม่ปรากฏเป็นครั้งแรกใน Windows Vista



2008 – 2012: Windows 7

ในปลายปี 2543 โลกเข้าสู่ยุคของระบบไร้สาย เมื่อ Windows 7 วางจำหน่ายในเดือนตุลาคม 2552 แล็ปท็อปมียอดขายดีกว่าเดสก์ท็อปพีซีและมีการใช้งานออนไลน์กันโดยทั่วไปผ่าน ฮอตสปอตไร้สายสาธารณะ เช่น ร้านกาแฟ เครือข่ายไร้สายสามารถสร้างได้ในสำนักงานหรือบ้าน Windows 7 มีคุณลักษณะจำนวนมาก เช่น วิธีการใหม่ๆ ในการทำงานกับหน้าต่าง ไม่ว่าจะเป็น Snap, Peek หรือ Shake Windows Touch ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งให้คุณสามารถใช้นิ้วเพื่อเรียกดูเว็บ พลิกดูภาพถ่าย และเปิดแฟ้มและโฟลเดอร์ คุณสามารถส่งกระแสข้อมูลเพลง วิดีโอ และภาพถ่ายจากพีซีของคุณไปยังสเตอริโอหรือทีวี ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2553 Windows 7 สามารถขายได้เจ็ดสำเนาต่อวินาที ถือเป็นระบบปฏิบัติการที่ขายเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์การปรับปรุงในแถบงานของ Windows 7 ได้แก่ การแสดงตัวอย่างภาพขนาดย่อแบบทันที



2012 – ปัจจุบัน : Windows

Windows 8 เป็น Windows รุ่นแรกที่สนับสนุนการประมวลผลบน CPU แบบพกพาที่สามารถทำงานได้เหมือนกับการประมวลผลบน CPU ของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป โดยแล็ปท็อปรุ่นใหม่ จำนวนมากไม่มีช่องใส่ดีวีดีและบางเครื่อง มีไดรฟ์โซลิดสเทต ซึ่งมาแทนที่ฮาร์ดดิสก์แบบเดิม และหน้าจอเริ่มรองรับระบบสัมผัสแบบหลายจุด เกือบทุกอย่างกำลังจะเปลี่ยนเป็นการส่งกระแสข้อมูลและบันทึกลงบนแฟลชไดรฟ์ หรือบันทึกใน "Cloud" พื้นที่ออนไลน์สำหรับการใช้แฟ้มร่วมกันและการจัดเก็บข้อมูล Windows Live โปรแกรมและบริการฟรีสำหรับภาพถ่าย และภาพยนตร์ ข้อความโต้ตอบแบบทันที อีเมล และเครือข่ายสังคม เป็นการผนวกรวมกับ Windows ที่สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น เพื่อให้คุณสามารถติดต่อกับพีซีของคุณ โทรศัพท์ หรือเว็บ พร้อมกับมีการขยาย Windows ไปยัง Cloud